วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเกิดน้ำเน่าเสีย


                                      
                                       วันที่  4 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย

                                       วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก



น้ำหมายถึงอะไร?
          แหล่งต้นตอของน้ำที่เป็นประโยชน์หรือมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์ ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้มีการนำน้ำมาใช้ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม บ้านเรือน นันทนาการและกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวนั้นจะเป็นน้ำจืด แต่น้ำจืดในโลกเรามีเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น และปริมาณ 2 ใน 3 ของน้ำจืดจำนวนนี้เป็นน้ำแข็งในรูปของธารน้ำแข็งและน้ำแข็งที่จับตัวกันอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสองขั้ว ปัจจุบันความต้องการน้ำมีมากกว่าน้ำจืดที่มีอยู่ในหลายส่วนของโลก และในอีกหลายพื้นที่ในโลกกำลังจะประสบปัญหาความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานของน้ำในอนาคตอันไม่ไกลนัก กรอบปฏิบัติเพื่อการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้แก่ผู้ใช้น้ำ (ในพื้นที่ที่มีกรอบปฏิบัติแล้ว) เรียกว่า "สิทธิการใช้น้ำ" (Water rights)

สาเหตุการเกิดน้ำเน่าเสีย
        1.        น้ำเสียอันเกิดจากการซักล้าง เช่น สารจากผงซักฟอก
2.        น้ำเสียอันเกิดจากการทิ้งขยะมูลฝอย
3.        น้ำเสียอันเกิดจากกระบวนการต่าง ๆ ของโรงงานอุตสาหกรรม


แหล่งที่ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย
         1.        แหล่งที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่มาจากการซักล้าง จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่ฐานะและอุปนิสัยของผู้คน น้ำที่เกิดจากการซักล้างมักมีผงซักฟอกปนอยู่มาก ซึ่งในผงซักฟอกมีสารฟอสเฟตเป็นส่วนผสมอยู่ สารนี้สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังได้ ถ้ามีการสะสมเป็นปริมาณมากก็เกิดอันตรายได้เช่นกัน
2.  โรงงานอุตสาหกรรม สารเคมีส่วนใหญ่ถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ เป็นเหตุให้แหล่งน้ำเสื่อมสภาพ สามารถแยกประเภทอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำได้ดังนี้
  • อุตสาหกรรมอาหาร น้ำทิ้งมักมีสารอินทรีย์สูงมากทำให้ O2 น้อยลง
  • อุตสาหกรรมเส้นใย ของเสียเกิดจากสารเจือปนที่มีอยู่ในเส้นใย
  • อุตสาหกรรมกระดาษ น้ำทิ้งของอุตสาหกรรมประเภทนี้มักส่งกลิ่นเหม็น สีที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำจะสกัดกั้นการสังเคราะห์แสงของพืช
  •  อุตสาหกรรมปิโตรเลียม น้ำทิ้งมีสารประเภทไฮโดรคาร์บอน กรด
  • อุตสาหกรรมเคมี น้ำทิ้งจะเป็นพวกกรดและด่าง ( เบส )
  • อุตสาหกรรมยางและพลาสติก น้ำทิ้งจะมีค่า BOD สูง
  • อุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น น้ำทิ้งจากโรงงานฟอกหนังมีฤทธิ์เป็นด่าง


หลักเกณฑ์การวัดคุณภาพของน้ำ
            ในน้ำปกติทั่วไปจะมีปริมาณ O2 ละลายอยู่ปริมาณ 8 มิลลิกรัม / ลิตร หรือ 8 ppm. เรานิยมเรียกปริมาณ O2 ที่ละลายในน้ำนี้ว่า ค่า DO ถ้าวัดค่า DO ได้ต่ำกว่า3 ppm.ถือว่าเป็นน้ำเสีย    สำหรับค่า pH นั้น องค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าควรมีค่า 5 –9 จึงจะเหมาะกับการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ถ้ามีค่ามากหรือน้อยกว่านั้นอาจเกิดอันตรายต่อสัตว์และพืชน้ำได้
           นอกจากนี้สามารถวัดได้ด้วยค่า BOD คือ ปริมาณของ O2 ที่จุลินทรีย์ต้องการในการย่อยอินทรียสารในน้ำ ถ้าค่า BOD สูงกว่า 100 ppm. แสดงว่าน้ำเสีย

วิธีการกำจัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมทั่ว ๆ ไป
1.        นำตะแกรงมากรองเศษขยะออก แล้วผ่านไปสู่ถังกลม เพื่อให้ตกตะกอนแล้วนำตะกอนที่ได้ไปเผา
2.        ให้แบคทีเรียย่อยอินทรียสาร ซึ่งช่วยให้ย่อยดีและเร็วขึ้น โดยการพ่นฟองอากาศเข้าไป
3.        นำน้ำเสียไปตกตะกอนที่ถังกลมอีกครั้ง
4.        เติมสารเคมี เช่น โซดาไฟ เพื่อให้ฟอสเฟตรวมตัวและตกตะกอน เติมเบสเพื่อลดสภาพกรด และใช้คาร์บอนดูดกลิ่น
5.        น้ำจะผ่านลงตามช่องที่มีตะแกรงเป็นชั้น ๆ ทำให้แอมโมเนียออกไปในรูปของก๊าซได้ โดยอาศัยพัดลมเป่าทางปล่อง
6.         เผาตะกอนจะได้ CO2 นำเติมในน้ำช่วยลดความเป็นด่าง ( เบส )
7.        กรองอนุภาคต่าง ๆ โดนผ่านหม้อกรองที่ใช้ หิน กรวด ทราย
8.        เติมคลอรีนลงไป เพื่อฆ่าแบคทีเรียที่ตกค้าง จะได้น้ำที่สามารถดื่มได้

แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย
1.        ควบคุมไม่ให้มีการทิ้งขยะมูลฝอยลงแหล่งน้ำ
2.        รีไซเคิลขยะมูลฝอย
3.        ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าช่วยในการบำบัดน้ำเสีย


2 ความคิดเห็น:

  1. ต้องให้ผู้ที่ทำให้ เกิดน้ำเสีย รับผิดชอบก่อนทิ้งโดยตรง คือบำบัดอย่างถูกวิธีก่อนปล่อยคืนสู่แหล่งธรรมชาติ ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ ถ้าต้องการที่จะทำ
    และการบำบัดน้ำเสียต้องไม่ใช้เคมีเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะสารเคมี จะทำให้น้ำยังคงมีสารเคมีปนเปื้อนเพิ่ม ซึ่งถือว่าเป็นการฝ่าฝืนธรรมชาติ

    ตอบลบ
  2. เทคโนโลยี่ บำบัดน้ำเสีย ของ สหรัฐอเมริกา ยุโรป เกาหลี ใช้ บางส่วนใช้ Organic Enzyme and Bacterial Complex เข้าร่วมในระบบบำบัดน้ำเสีย
    ที่มีสารเคมีปนเปื้อน หรือเป็นสารอินทรีย์ก็เร็วมาก กลิ่นเหม็นจะถูกควบคุมอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นการตกตะกอนจะตามมา แต่มีเงื่อนไขคือ น้ำเสียที่จะบำบัดต้องมีค่า pH ที่่ 6.5 ขึ้นไป มีข้อความตอนท้ายของผลการทดสอบตามนี้
    cleans phenolic water, an element that clears up all type of bacteria, however highly toxic to humans, animal, and soil. MAZ ZAL inhibits insecticides, fungicides, pesticides, that are left over from agriculture irrigation of the soil. MAZ ZAL aids in controlling these elements or others of metallic origin metalloids like lead, mercury or more so, the cyanide and arsenic are totally controlled and potentially diminished.
    ในประเทศไทย มีใช้กันในวงแคบ เพราะก่อนหน้านั้นใช้ จุลินทรีย์ แล้วไม่ได้ผล ก็เลยเหมาเอาว่ามันเหมือนกันกับ จุลินทรีย์ หากใช้ที่กล่าวมานี่เจ้าของโรงงานคิดว่าเป็นการสิ้นเปลือง ในการบำบัดน้ำเสียที่มีสารเคมีปนเปื้อนอัตราสิ้นเปลืองแรก อยู่ที่ 10 PPM. สารบำบัด 10 ส่วน ต่อน้ำเสีย 1 ล้านส่วน หลังจากนั้น ให้ใช้ตามปริมาณน้ำเสียที่จะเกิดใหม่แต่ละวันเป็นหลัก

    ตอบลบ